เกี่ยวกับชุมชน

ท่องเที่ยว

สร้างสรรค์

----------------------------

CREATIVE TOURISM หรือ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แนวคิดเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เริ่มปรากฎขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 โดย Greg Richards และ Crispin Raymond ต่อมาในปี พ.ศ.2549 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงได้กำหนดนิยามว่า การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือ การเดินทางที่มุ่งไปสู่ความผูกพันและประสบการณ์จริงแท้ที่เกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ศิลปะ มรดกทางวัฒนธรรม หรือคุณลักษณะพิเศษของพื้นที่นั้น และนำมาซึ่งความเชื่อมโยงกับผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ และเป็นผู้รังสรรค์วัฒนธรรมที่มีชีวิตนั้น

นอกจากนี้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้นิยาม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การท่องเที่ยวที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชนและเอกลักษณ์สถานที่ โดยนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ตรง ร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม และมีโอกาสได้ใช้ชีวิตร่วมกันกับเจ้าของสถานที่ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชน และเอกลักษณ์ของสถานที่ ที่ไม่ใช่กิจกรรมที่เน้นรายได้ของชุมชน แต่เป็นกิจกรรมที่เน้นคุณค่าของชุมชนเป็นสำคัญ


Creative Tourism

UTHAI

ชุมชนท่องเที่ยวสร้างสรรค์อุทัยธานี

วิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมประจำถิ่นบ้านท่าโพ

    โดยชาวบ้านในหมู่บ้านท่าโพและหมู่บ้านพันสี จะมาร่วมกัน

จัดการละเล่นพื้นเมืองขึ้นที่วัดท่าโพ โดยจะเก็บดอกไม้แห่เข้าโบสถ์แล้วร้องเพลงพิษฐานในโบสถ์ เสร็จแล้วจะออกมาเล่นเพลงชักกะเย่อ เพลงโลม เพลงร าวงโบราณอย่างสนุกสนานแต่ละเพลงมีท่าร าประกอบเฉพาะ ผลัด

กันเล่นมอญซ่อนผ้า เจี๊ยบๆ จ้อย ลูกช่วงลูกชัย เสือกินวัว และแม่ศรี ตามแต่จะแข่งขันกัน ซึ่งเป็นประเพณีของ

    ชาวไทย ที่รักษาไว้และปฏิบัติกันมาหลายชั่วอายุคน การละเล่นต่างๆ ในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่ยังคงเนื้อเพลง

ที่ร้องแบบของเดิมไว้

ชุมชนคุณธรรมบ้านสะนำ จังหวัดอุทัยธานี

บ้านสะนำเป็นหมู่บ้าน ซึ่งบรรพบุรุษของชาวสะนำ อพยพหนีภัยสงคราม ประมาณ พ.ศ. 2370 เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินและปลูกสร้างเรือนอยู่ ภาษาพูดของชาวสะนำเป็นภาษาลาวสำเนียงคล้ายคนลาวในนครเวียงจันทน์ บรรพบุรุษของคนบ้านสะนำ คือ นางสา ซึ่งเป็นคนบ้านทัพคล้าย มีสามีชื่อ นายนำ มาอยู่ที่บ้านสะนำก่อน จึงนำมาเป็นชื่อบ้านว่า บ้านสานำ และเพี้ยนมาเป็น บ้านสะนำ ในเวลาต่อมา และเป็นหมู่บ้านดั้งเดิมของชุมชนลาวครั่งที่ใหญ่

  ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรบ้านสะนำ ประชาชนส่วนใหญ่มีเชื้อสาย ลาวเวียง มีวัฒนธรรมติดตามมา คือ วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการกิน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความเชื่อความศรัทธา

ต้นไม้ยักษ์สะนำ (ต้นเชียง)

  ต้นไม้ยักษ์ (ต้นเซียง) เป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 60 คนโอบ มีอายุประมาณ 400 500 ปี เป็นต้นไม้ใหญ่ยืนต้นท่ามกลางป่าหมาก (ชาวบ้านเรียกว่า ป่าหมากล้านต้น) และอยู่ทามกลางป่าสมุนไพรของชุมชน ในอดีตถือเป็นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณของชุมชน ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน


------------------

ชุมชนบ้านโรงน้ำแข็ง แหล่งที่มีการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง เพื่อสำรวจเส้นทางเดินเรือ จัดวางเป็นจุดท่องเที่ยวอีกหนึ่งจุดที่สามารถศึกษาวิถีชีวิตริมแม่น้ำของชุมชนชาวแพสะแกกรัง โดยนักท่องเที่ยวสามารถทำกิจรรมร่วมกับชุมชนได้ ส่งเสริมให้พัฒนาด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน และมีการวางแผนที่จะบูรณาการร่วมกับปัจจัยด้านการเกษตรและการแปรรูปร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

Creative Tourism

UTHAI

ชุมชนท่องเที่ยวสร้างสรรค์อุทัยธานี

การจัดการต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อยกระดับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดอุทัยธานี

โดยทีมวิจัย : สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

------------------------------------

Copyright 2023 | All Rights Reserved

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy